เหม็กม้วน ที่นำไปใช้เพื่อรีดหลังคาแบบไหนดี สำหรับผู้ประกอบการ และโรงรีด แบบไหนดีนั้น หากคำนึงถึง ราคาเบาๆ คุณภาพสมราคา คงหนีไม่พ้น เหล็กอลูซิงค์ หรือ เหล็กหลังคาที่เรียกกันคุ้นปากว่า เมทัลชีท
ที่นิยมมากในบ้านเราก็หนีไม่พ้น เหล็กม้วน เพื่อนำไปผลิตหลังคาเมทัลชีท หรือที่เรียกว่า เหล็กอลูซิงค์ Galvalume(GL) หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อเหล็กอลูซิงค์คือ เหล็กแผ่นดำที่นำสารเคลือบ อลูมิเนียม(Aluminum), สังกะสี(Zinc)และ ซีลีคอน(Silicon) ในอัตราส่วน 55%, 43.4% และ 1.6% เหตุผลก็เรื่องสนิม ปัญหาหลักของการผลิตเลยทีเดียว การที่จะปกป้องการสึกกร่อนและสนิมที่จะเกิดขึ้นกับพื้นผิวของเหล็กดำ ด้วยความทนทานของสารเคลือบอลูซิงค์ เหล็กอลูซิงค์มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเหล็กสังกะสี(Galvanized) ถึงสี่เท่าตัว จึงทำให้เหล็กตัวนี้ฮอตฮิต นิยทใช้ในบ้านเรามาก รวมไปถึง เหล็กอลูซิงค์ยังได้รับการยอมรับในวงการเนื่องจากความแข็งแรงทนทาน ง่ายต่อการติดตั้ง ความสวยงามและ อายุการใช้งานที่ยืนยาว
มาตราฐานหน้ากว้างของเหล็กอลูซิงค์ในประเทศไทยที่ใช้คือ 914 มิลลิเมตร ความหนามีให้เลือกหลายขนาดตั้งแต่ 0.18 – 0.50 มิลลิเมตร แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ ทั้งนี้ระดับความหนาของสารเคลือบยังแบ่งออกเป็นหลายขนาดเช่นกัน โดยสั่งเกตุได้จากตัวอักษร AZ แล้วตามด้วยตัวเลข อย่างเช่น AZ70 หรือ AZ150 เป็นต้น ตัวเลขด้านหลังบ่งบอกถึงความหนาของสารเคลือบทั้งสองด้านหน่วยเป็น กรัมต่อตารางเมตร
เหล็กอลูซิงค์มีพื้นผิวที่คล้ายคลึงเหล็กสังกะสีแต่เหล็กอลูซิงค์มีความเงางามที่มากกว่าและป้องกันรอยขีดขวนเพื่อความสวยงาม เหล็กอลูซิงค์ได้ถูกยอมรับให้เป็นสุดยอดวัสดุในการมุงหลังคาเพราะความแข็งแรง ทนทานและอายุการใช้งานที่นาน เหล็กอลูซิงค์สามารถนำไปเคลือบสีต่างๆตามความต้องการของลูกค้าเพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับวัสดุที่ใช้
เหล็กอลูซิงค์ไม่เหมาะแก่การนำไปใช้ด้านใน ด้านบน หรือสัมผัส กับปูนคอนกรีต เนื่องด้วยความเป็นอัลคาไลน์(Alkaline) ของปูนคอนกรีตจะทำให้สารเคลือบอลูซิงค์สึกกร่อนได้รวดเร็วเมื่อสัมผัส การใช้สารเคลือบอลูซิงค์(Aluzinc) เป็นการนำข้อดีของอลูมีเนียม(Aluminum)และ สังกะสี(Zinc) เข้ามารวมไว้ด้วยกัน ความทนทานในการสึกกร่อนและทนความร้อนของอลูมีเนียม(Aluminum) รวมเข้ากับความทนทานของสังกะสี(Zinc)
เกร็ดเล็กๆ สำหรับคนที่กำลังต้องการเลือกซื้อเหล็กอลูซิงค์ สเปคไหนที่ใช่ แบบไหนที่ชอบ
- BMT ย่อมาจาก Base Metal Thickness ความหนาของแผ่นเหล็กก่อนจะมีการเคลือบอลูซิงค์
-TCT ย่อมาจาก Total Coated Thickness ความหนาของแผ่นเหล็กหลังจากมีการเคลือบอลูซิงค์ AZ70 AZ100 AZ150
-APT ย่อมาจาก After Painted Thickness ความหนาของแผ่นเหล็กอลูซิงค์หลังจากมีการเคลือบสี AZ70 AZ100 AZ150
– ความหนาของสารเคลือบอลูซิงค์ซึ่งมีหน่วยเป็น กรัมต่อตารางเมตร *ยิ่ง AZ สูง ความทนทานของแผ่นเมทัลชีทยิ่งมาก
– G300 G550 G700 ค่าความแข็งแรงของเหล็กกล้าที่นำมาเคลือบอลูซิงค์
*เหล็กอลูซิงค์ที่เหมาะแก่การผลิตหลังคาเมทัลชีทควรจะผลิตจากเหล็กกล้ากำลังดึงสูง G550 ขึ้นไป